เกี่ยวกับเรา

 

ศูนย์วัฒนธรรมก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2537 แต่เดิมเป็น ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย คือ การทำนุบำรุงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติ ส่งเสริมการศึกษา งานวิจัย และฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยในระยะแรกแบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 แผนก ได้แก่ แผนกส่งเสริมและเผยแพร่ และแผนกพิพิธภัณฑ์

พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้มีนโยบายปรับเปลี่ยนโครงสร้างตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยโดยจัดแบ่งงานเป็น 4 แผนก ได้แก่ แผนกวัฒนธรรมศึกษา แผนกพิพิธภัณฑ์ แผนกหอจดหมายเหตุ และสำนักงานเลขานุการ

พ.ศ. 2545 สภามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้มีมติอนุมัติปรับโครงสร้างหน่วยงานระดับกอง/ ศูนย์/ สำนัก/ สถาบัน ดังนี้ 1) รวมงานสำนักงานเลขานุการ และงานแผนกวัฒนธรรมศึกษา ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เป็น “ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม” อยู่ภายใต้การกำกับของรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา 2) เปลี่ยนชื่อแผนกพิพิธภัณฑ์ และแผนกหอจดหมายเหตุ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เป็น “พิพิธภัณฑ์” และ “หอจดหมายเหตุ” อยู่ภายใต้การกำกับของอธิการบดี และนโยบายของสภามหาวิทยาลัย 3) ยุบศูนย์ศิลปวัฒนธรรม และหน่วยงานในสังกัดทั้งหมด

พ.ศ. 2551 สภามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้มีการปรับปรุงแผนภูมิโครงสร้างฝ่ายศิลปวัฒนธรรม เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับภาระงานในปัจจุบัน จึงให้โอนงานพิพิธภัณฑ์ไปเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายศิลปวัฒนธรรมโดยได้มีการจัดโครงสร้างภายในให้เอื้อต่อการบริหารงาน ภายใต้การกำกับดูแลของผู้ช่วยอธิการบดี (ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิก สุนทรธัย) ดังนี้ 1) งานธุรการ ทำงานด้านธุรการและประสานงานระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอก  2) งานส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม จัดกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมให้แก่นักศึกษา ส่งเสริมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมรวมทั้งการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ 3) งานพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นการจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไทย-จีน ให้บริการการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมไทย-จีน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติพัฒนาการของมหาวิทยาลัยและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งแก่ชุมชนและสังคม รวมทั้งผลิตผลงานทางวิชาการและจัดกิจกรรมเผยแพร่ในฐานะแหล่งเรียนรู้ของสังคม

พ.ศ.2553 ได้มีคำสั่งสภามหาวิทยาลัยเรื่องปรับปรุงโครงสร้างจากฝ่ายศิลปวัฒนธรรมเป็นศูนย์วัฒนธรรม โดยจัดแบ่งงานของศูนย์วัฒนธรรมเป็น 4 แผนก ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ แผนกวัฒนธรรมศึกษา แผนกส่งเสริมและเผยแพร่ และแผนกพิพิธภัณฑ์

 

ศูนย์วัฒนธรรมเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย-จีน

 

1. พัฒนาศูนย์วัฒนธรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนสามวัย มีความโดดเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมไทย-จีนในระดับชาติและระดับนานาชาติ

2. สร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมไทย-จีนที่เพิ่มคุณค่าในสังคม และนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์

3. บริการวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมที่บูรณาการกับการเรียนการสอนและวิจัย

4. อนุรักษ์ สืบสาน ต่อยอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมไทย-จีน

5. บริหารจัดการและพัฒนาศูนย์วัฒนธรรมตามหลักธรรมาภิบาล ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และโมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อมุ่งสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและเผยแพร่โครงการกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมไทย-จีนให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมไทย-จีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ยุทธศาสตร์ที่ 3 งานสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมและการจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดคุณค่าทางสังคมและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริการวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการและก่อให้เกิดรายได้เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย ชุมชน และสังคม

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ขับเคลื่อนทุนทางศิลปวัฒนธรรม เพื่อยกระดับและสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย ชุมชนและสังคม

ยุทธศาสตร์ที่ 6 บริหารจัดการศูนย์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม อย่างพอเพียง และมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อมุ่งสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

Copyright © 2017. All rights reserved.