งานส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม

 

ความเป็นมาการศิลปะแสดงหุ่นคน

ศิลปะการแสดงหุ่นคนมีต้นกำเนิดจากหุ่นหลวง หุ่นกระบอก หุ่นละครเล็ก การแสดงหุ่นของภาคต่างๆ หนังตะลุง โขน ละคร และระบำรำฟ้อนมาผสมผสานกันระหว่างศิลปะการเชิดหุ่นและหนังใหญ่ต่างๆ ตลอดจนการแสดงศิลปะแบบสากล ประกอบกับลีลาท่าทางของผู้แสดงให้ออกมาเป็นเรื่องราว โดยนำเอาเหตุการณ์ต่างๆในวรรณกรรมและวรรณคดี ตลอดจนวิถีชีวิตของสังคมไทยมาดัดแปลงแต่งเติมให้เป็นบทแสดง แล้วประยุกต์ในเชิงเปรียบเทียบระหว่างคนกับหุ่น หรือคนเลียนแบบหุ่น โดยได้นำวิธีการเชิดหุ่น รูปแบบการแสดง การดำเนินเรื่อง ตลอดจนการแต่งกายของหุ่น เพื่อให้เข้ากับปัจจุบัน เป็นการแสดงร่วมสมัยได้อย่างน่าสนใจ อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะที่กำลังจะถูกลืม นอกจากนี้ได้นำการแสดงมาปรับปรุงใหม่ โดยใช้คนแทนหุ่นหลวง และยังคงรักษารูปแบบเดิมของการแสดงหุ่นแต่ละประเภทไว้ เพียงแต่เปลี่ยนจากหุ่นมาเป็นคนเท่านั้น เมื่อปี พ.ศ.2537 ซึ่งการแสดงหุ่นคนดังกล่าวในตอนนั้นยังไม่มีแบบฉบับที่แน่ชัดและไม่สวยงามมากนัก หลังจากนั้นจึงได้พัฒนารูปแบบต่อมาเรื่อยๆกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2543 จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างดีจากกระแสสังคมที่เริ่มยอมรับศิลปะการแสดงหุ่นคน ด้วยเป็นเพราะว่าความแปลกนั่นเองประวัติของผู้คิดค้นการแสดง”หุ่นคน”
การแสดงหุ่นคนชุดตะลุงโนราห์
Copyright © 2017. All rights reserved.