จิตรกรรมฝาพนังเมขลารามสูรที่ปรากฏในวัดสุนทราวาส

        ผศ.สุกฤตาวัฒน์ บำรุงพานิช หัวหน้าแผนกส่งเสริมและเผยแพร่ ลงพื้นที่ จ.พัทลุง ศึกษาภาพจิตรกรรมฝาพนังเมขลารามสูรที่ปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนังภายวัดสุนทราวาส ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง พบว่า
จิตรกรรมฝาผนังเมขลารามสูรในพระอุโบสถวัดสุนทราวาส ได้รับอิทธิพลการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างรัตนโกสินทร์ ลักษณะการเขียนภาพ การแสดงเรื่องราว และการวางเรื่อง เป็นระเบียบแบบแผนตามรูปแบบจิตรกรรมไทยประเพณีที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีทั้งหมดจำนวน 12 เรื่อง ซึ่งปรากฏภาพนางเมขลาจำนวน 2 ภาพ รามสูรจำนวน 1 ภาพ การเขียนภาพแสดงท่าทางแบบนาฏลักษณ์มีการจัดวางรูปหน้า รูปร่าง รวมถึงการแต่งกาย เครื่องประดับสวยงามตามตำแหน่งยศศักดินา และภาพจิตรกรรมฝาผนังเมขลารามสูรยังได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนและความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ พระพุทธศาสนา และคติชาวบ้านที่มีความเชื่อตามตำนานฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ
           ทั้งนี้ผู้เขียนภาพจิตรกรรมยังเขียนให้สอดคล้องกับตํานาน จึงทำให้การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเมขลารามสูรมีความเกี่ยวข้องกับคติพราหมณ์ ศาสนาพุทธและความเชื่ออีกด้วย

 

Copyright © 2017. All rights reserved.